โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใส หรือไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต
โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) เป็นโรคที่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อ 60 ปีก่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศคองโก โดยพบการติดเชื้อของสัตว์ตระกูลลิงในห้องแล็ป นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ อย่าง หนู กระรอก กระต่าย เป็นโรคตระกูลเดียวกับฝีดาษที่เกิดขึ้นในคน หรือไข้ทรพิษ
โรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ
โรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร สามารถแพร่กระจายได้ง่าย แบ่งออกเป็น
ระยะเวลาฟักตัว (ช่วงเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงเริ่มแสดงอาการ) ของโรคฝีดาษวานรมีตั้งแต่ 7-21 วัน โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ประมาณ 0-5 วัน มีไข้, ปวดศีรษะมาก, ต่อมน้ำเหลืองโต, ปวดหลัง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียมาก ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตเป็นลักษณะเด่นของโรคฝีดาษวานร เปรียบเทียบกับโรคอื่นที่อาจแสดงอาการแรกเริ่มคล้ายกัน (อีสุกอีใส หัด และฝีดาษ)
ปกติเริ่มภายใน 1-3 วันหลังจากเริ่มมีไข้ ตุ่มผื่นมักขึ้นหนาแน่นบนใบหน้าและแขนขามากกว่าลำตัว โดยผื่นจะมีขนาด 2-10 มิลลิเมตร ในช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา สามารถเกิดตุ่มผื่นได้ทั้ง ใบหน้า ,ฝ่ามือฝ่าเท้า,เยื่อบุช่องปาก ,อวัยวะเพศ,เยื่อบุตา และกระจกตาก็ได้รับผลกระทบด้วย
โดยผื่นเริ่มจากผื่นแดง จากนั้นค่อย ๆ เป็นเป็น ผื่นนูน (เป็นตุ่มแข็งนูนเล็กน้อย) กลายเป็นถุงน้ำ (มีของเหลวใสบรรจุอยู่ภายใน) เกิดตุ่มหนอง (มีของเหลวสีเหลืองบรรจุอยู่ภายใน) และเป็นฝี จนตุ่มหนองแตกและแห้งเป็นสะเก็ด ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการดีขึ้น และหมดระยะในการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น
ในด้านของการป้องกันโรคฝีดาษวานรด้วยวัคซีนนั้น ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง "วัคซีนป้องกันฝีดาษ วัคซีนป้องกันฝีดาษวานรมีหรือไม่" และ "การป้องกันฝีดาษวานร" เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567 โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
วัคซีนป้องกันฝีดาษวานรโดยตรงยังไม่มี แต่การฉีดวัคซีนฝีดาษวัวหรือ Vaccinia virus ช่วยสร้างภูมิต้านทานข้ามสายพันธุ์ได้ ทำให้สามารถป้องกันฝีดาษในมนุษย์และฝีดาษวานรได้ในช่วงระยะแรก คนที่เคยปลูกฝีมีภูมิคุ้มกันในระยะยาว ซึ่งลดความรุนแรงของโรคได้ แม้จะติดเชื้อฝีดาษวานรในภายหลัง วัคซีนฝีดาษรุ่นใหม่ถูกพัฒนาต่อเนื่อง โดยเน้นป้องกันไข้ทรพิษและลดผลข้างเคียงเพื่อป้องกันการใช้ฝีดาษเป็นอาวุธในสงครามเชื้อโรค