โรคปอดอักเสบ (pneumonia) หรือที่เรียกกันว่า “โรคปอดบวม” เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของโรคติดต่อทางเดินหายใจ เป็นโรคที่มีการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้ปอดทำงานที่ได้น้อยลง มักพบว่าเป็นอาการที่ต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ หรือมีการติดเชื้อจากการไอจาม หรือจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย และความรุนแรงของโรคจะมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือได้รับยากดภูมิเป็นเวลานาน รวมไปถึงกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ทำให้โรคปอดอักเสบถูกจัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรง และมีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และอาจนำมาซึ่งการเสียชีวิตหรือพิการได้
ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส (เช่น ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 อาร์เอสวี) จากการสูด สำลักสารคัดหลั่งจากช่องปากและคอ หรือการสูดหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ในรายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจพบจากการติดเชื้อรา หรือเชื้อปรสิตเพิ่มเติมจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสจากระบบทางเดินหายใจอีกด้วย
– กลุ่มเด็กเล็ก / เด็กทารกที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าช่วงวัยอื่น
– กลุ่มผู้สูงอายุ / ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น
– กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยโรค SLE ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น)
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ อาจจะมีเสมหะร่วมหรือไม่ก็ได้ หายใจหอบเหนื่อย บางรายมีเจ็บหน้าอกเวลาไอและหายใจเข้า บางรายอาจมีอาการน้ำมูก คัดจมูก เจ็บคอ มีอาการปวดเมื่อยตามร่วมด้วย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการซึม สับสน อุณหภูมิกายต่ำ เสี่ยงที่จะเกิดภาวะช็อก มีความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ (น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์) และภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ในเด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด ไม่ดูดนมหรือน้ำ อาเจียน
แบ่งเป็น 2 อาการ ดังนี้
– ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
– ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น มีอัตราการหายใจเร็ว ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ซึมหรือสับสน จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยจะได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ร่วมกับการให้ออกซิเจนและการให้สารน้ำ รวมทั้งการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
โรคปอดอักเสบและวัณโรคจัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ วัณโรคสามารถแพร่กระจายผ่านการไอ จามเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ สาเหตุของวัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ส่วนโรคปอดอักเสบมีสาเหตุการเกิดหลายปัจจัยทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น
โดยอาการของทั้งสองโรคจะมีลักษณะคือ
อาการปอดอักเสบ |
ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอกเวลาไอหรือหายใจ มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน |
อาการวัณโรค |
ไอมีเสมหะมีเลือดปน ไอเรื้อรัง มีไข้ต่ำ ๆ เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหนังซีดเหลือง มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน |
โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยมีแนวทางป้องกันคือ